สรุปประเด็นความรู้จากการแลกเปลี่ยนความรู้ครั้งที่ 2 วันที่ 30 พ.ค. 2560 ห้องประชุม 1

สรุปประเด็นความรู้จากการแลกเปลี่ยนความรู้กับหน่วยงานภายนอก
ครั้งที่ 2 วันที่ 30 พ.ค. 2560
ห้องประชุม 1 อาคารอำนวยการ

ตามที่บุคลากรสายสนับสนุนได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทำงานโดยใช้ระบบการพัฒนาคุณภาพ PDCA กับหน่วยงานภายนอก คือ สำนักแผนและพัฒนาคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาพายัพ สรุปได้ดังนี้
การทำ PDCA เพื่อการป้องกัน การแก้ไขปัญหา และการปรับปรุง
ในปัจจุบันขอบข่ายงานที่รับผิดชอบ มีดังนี้
1.       งานแผน
2.       งานประกันคุณภาพการศึกษา
3.       งานจัดการความรู้
4.       งานบริหารความเสี่ยง
5.       งานรับรองวิทยฐาน
งานตามพันธกิจอุดมศึกษา มีดังนี้
1.       แผนงานวิจัย/แผนงานส่งเสริมการวิจัย
2.       แผนบริการวิชาการ
3.       แผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
4.       แผนพัฒนานักศึกษา
แผนงานส่งเสริมและพัฒนางาน ประกอบด้วย
1.              แผนบริหารความเสี่ยง
2.              แผนพัฒนาบุคลากร
3.              แผนการจัดการความรู้
4.              แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
การบริหารความเสี่ยง ดำเนินการดังนี้
1.       ระบุประเด็นความเสี่ยงที่ส่งผลต่อการไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของคณะ/หน่วยงาน/มหาวิทยาลัย
2.       ประเมินความเสี่ยง จัดลำดับความเสี่ยง มาตรการควบคุมที่มี
3.       จัดทำแผนบริหารความเสี่ยง
4.       ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน
การจัดการความรู้ ดำเนินการดังนี้
1.       ระบุประเด็นความรู้
2.       จัดทำแผนการจัดการความรู้
3.       ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรงและแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ตามประเด็นความรู้
4.       จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
5.       กล่นกรองความรู้ จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร
6.       นำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
7.       ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน
การประกันคุณภาพการศึกษา ดำเนินการดังนี้
1.       การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมิน
2.       การประเมินคุณภาพภายใน ภายนอก
-     การจัดทำรายงานประเมินตนเอง
-     เข้ารับการประเมินคุณภาพภายใน ภายนอก
-     จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามผลการประเมิน
3.       การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
4.       การพัฒนาคุณภาพการศึกษา

การดำเนินงานในแต่ละปีการศึกษา เริ่มต้นการดำเนินงานด้วยการวางแผน บริหารความเสี่ยง จัดการความรู้และปิดงานด้วยการตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงาน คือ การประกันคุณภาพการศึกษา  จะเห็นได้ว่า การทำงานทุกงานจะต้องมีการวางแผนการทำงาน ประกอบไปด้วย 5W 1H คือ what why where who when และ how
หลังจากวิทยากรได้แบ่งปันความรู้เรียบร้อยแล้วนั้น บุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากร เกี่ยวกับขั้นตอนในการปฏิบัติงาน
ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ 
ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้มีการสอบถามถึงวิธีปฏิบัติงานในเรื่องของความเสี่ยง ในการดำเนินการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยว่า มีความจำเป็นต้องวิเคราะห์ทุกด้านหรือไม่ ผลที่ได้จากการแลกเปลี่ยนพบว่า การบริหารความเสี่ยงด้านธรรมภิบาลนั้น ไม่จำเป็นต้องมีครบทั้ง 6 ด้าน โดยให้พิจารณาหรือประเมินความเสี่ยงว่ามีผลกระทบมากแค่ไหน แล้วกำหนดประเด็นความเสี่ยงที่มีผลกระทบสูง นำมาจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง รวมถึงมีการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน ทั้งนี้การจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง ควรดำเนินการให้ครบทุกด้าน
ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานวิจัย มทร.ล้านนา มีการจัดการเรียนการสอนหลายพื้นที่ ซึ่งแตกต่างจากมหาวิทยาลัยพายัพ โดยวิทยากรได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยพายัพคือ จะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยจะสนับสนุนข้อมูลให้กับทุกคณะ ในการรวบรวมข้อมูลงานวิจัย และมีการพัฒนาระบบงานวิจัย ให้อาจารย์กรอกข้อมูลในปีที่ผ่านมา โดยนำข้อมูลมาจากสำนักวิจัยและข้อมูลจากที่อาจารย์กรอกรวมกัน แล้วสำนักวิจัย จะมีการตรวจสอบว่ามีการซ้ำซ้อนของข้อมูลหรือไม่ ซึ่งในปี 2559 มีการปรับปรุงระบบ โดยกำหนดให้มีการกรอกข้อมูลตั้งแต่การจัดทำแผน วิธีจัดการเพื่อให้ได้ข้อมูล ใช้การเข้าถึงความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และส่งเสริมให้บุคลากรในสำนักงานมีความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคลากรหน่วยงานอื่นๆ
สำหรับงานพัฒนาบุคลากร มหาวิทยาลัยจะต้องมีแผนพัฒนาบุคลากร โดยมีการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (IDP) และต้องมีการกำหนดให้มีการติดตามผลการดำเนินการตามแผนพัฒนารายบุคคลด้วย ในการตรวจประเมินนั้น จะมีการตรวจสอบว่ามีตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จ รวมไปถึงมีการกำกับติดตามตามแผนพัฒนาดังกล่าวหรือไม่ และผู้บริหารของคณะจะต้องรับทราบการดำเนินการตามแผนของบุคลากรด้วย ผู้บริหารจะต้องมีการตรวจสอบของหน่วยงาน ว่ามีปัญหา อุปสรรค อะไรบ้าง ในปีที่ผ่านมา มทร.ล้านนา ยังไม่มีแผนพัฒนารายบุคคล  โดยได้เริ่มจัดทำในปี 2559
สำหรับปัญหาในการนับจำนวนอาจารย์ประจำนั้น ทางกองบริหารงานบุคคลได้ดำเนินการส่งข้อมูลจำนวนอาจารย์ไปยังเขตพื้นที่และคณะ เพื่อตรวจสอบและยืนยันตัวเลข แต่ในรอบ 12 เดือน จำนวนตัวเลขยังไม่สมบูรณ์ ซึ่งมหาวิทยาลัยพายัพ ก็ยังมีปัญหาในการนับจำนวนบุคลากร และปัจจุบัน ยังให้คณะตรวจสอบจำนวนบุคลากร ซึ่งมีความเห็นว่าวิธีที่ดีที่สุดในการนับจำนวนอาจารย์คือการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศให้เหมาะสม

ในการดำเนินงานแผนและการติดตาม ให้บรรลุวัตถุประสงค์ของแผน การติดตามของมหาวิทยาลัยพายัพ มี 2 แบบ คือติดตามโครงการในแผน โดยมีการนำเอาระบบต่างๆ มาใช้ประกอบการดำเนินงานและมีบุคลากรตรวจสอบข้อมูลอีกครั้ง และมีการติดตามตามตัวชี้วัดของแผนและแผนกลยุทธ์


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สรุปประเด็นความรู้จากการแลกเปลี่ยนความรู้ ครั้งที่ 3 วันที่ 6 มิถุนายน 2560 ห้องประชุม 1 อาคารอำนวยการ

การประชุม KM ครั้งที่ 2 (30 พฤษภาคม 2560)